1.21.2551

Micro & Macro


หลังจากที่ได้รับ โจทย์ เกี่ยวกับคำว่า Micro และ Macro ก็ได้ไปประชุมงานกับเพื่อนๆเพื่อหาความหมายของคำๆนี่จากแต่ละคน
โดยที่หลังจากเริ่มคุยกันที่สิ่งที่ทุกคนคิดเกี่ยวกับคำนี้ก็ได้เริ่มมีการแลกเปลี่ยนกันซึ่งสรุปใจความได้ว่า

Macro ใหญ่ ขนาดที่ใหญ่ ชุดคำสั่งที่เราเขียนขึ้น
Micro เล็ก จุล

จากตรงนี้เราก็พยายามหาสิ่งต่างๆมาเปรียบเทียบว่าเช่น
แขน คือ Macro
เซลล์ ก็จะคือ Micro

โดยส่วนตัวรู้สึกว่ามันมีความใกล้เคียงกับ ทฤษฎีเกี่ยวกับ Butterfly effect ซึ่งพูดถึงเกี่ยวกับการกระทำเพียงเล็กน้อยที่แทบจะไม่สามารถสังเกตได้ในที่นี้ผมเห็นว่ามันเป็นการเปลี่ยนแปลงระดับจุลภาค อาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้
ซึ่งมันก็เป็นหลักการที่ว่า " การผีเสื้อขยับปีกญี่ปุ่น อาจจะก่อให้เกิดพายุที่อเมริกาได้ " เพราะการที่ผีเสื้อขยับปีก 1 ทีนั้นก่อนให้เกิดความกดอากาศที่เปลี่ยนไปได้โดยที่อาจจะไม่ส่งผลในทันที แต่จะส่งผลให้รอบข้างเกิดการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศไปในวงกว้างและเพิ่งไปเรื่อยๆ

โดยตอนนี้เรื่องที่เอามาคลอบให้เกิดเป็นชิ้นงานนั้นยังไม่มี

Chaos Theory
ทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) นั้น อธิบายด้วยภาพจำลองการเคลื่อนไหวของ ปรากฏการณ์เคออส จากปัญหาสามวัตถุ
จากภาพเส้นที่ต่างกันสามเส้นแทนการเคลื่อนไหวของวัตถุสามชิ้น ซึ่งดูเหมือนไม่เป็นระเบียบ ทฤษฎีความอลวน (chaos theory) เป็นทฤษฎีที่อธิบายถึง ลักษณะพฤติกรรมของระบบพลวัต (คือ ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น เปลี่ยนแปลงตามเวลาที่เปลี่ยนไป) โดยลักษณะการเปลี่ยนแปลงของระบบที่เรียกว่าเคออสนี้ จะมีลักษณะที่ปั่นป่วนจนดูคล้ายว่า การเปลี่ยนแปลงนั้น
เป็นแบบสุ่มหรือไร้ระเบียบ (random/stochastic) แต่จริง ๆ แล้ว ระบบเคออสนี้เป็นระบบแบบไม่สุ่ม หรือระบบที่มีระเบียบ (deterministic) ในทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ คำจำกัดความของระบบเคออส คือ ระบบแบบไม่เป็นเชิงเส้น (nonlinear system) ประเภทหนึ่ง ที่มีความไวต่อสภาวะเริ่มต้น กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ถ้าระบบ 2 ระบบนั้นเริ่มต้นจากสภาวะที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย คือเกือบจะเหมือนกันทุกประการ

(จากควันที่ลอยขึ้นมาตอนแรก หากโดนอากาศที่แปรปรวนแม้เพียงนิด ก้อจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลในช่วงหลัง)
เมื่อระบบได้มีการเปลี่ยนไปซักระยะหนึ่ง สภาวะของระบบทั้งสองที่เราสังเกตได้เมื่อเวลาผ่านไปจะแตกต่างกันอย่างสังเกตเห็นได้ชัด ในสภาพ Chaos, สภาพสับสนอลหม่าน, สภาพไร้ระเบียบ คือไร้เสถียรภาพ (unstable) ที่มีความอ่อนไหวสูงยิ่ง หรือมีความเปราะบาง เมื่อมีการกระทบเพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่เป็นเส้นตรง แต่เป็นทางที่คดเคี้ยว กวัดแกว่ง และบางครั้งก้าวกระโดด (sporadic) เกิดตรงจุดนั้นบ้าง จุดนี้บ้าง ทำให้ยากที่จะทำนายผลลัพธ์ได้ เพราะมีสิ่งอื่น ๆ
ที่มาเป็นองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง ในตอนหนึ่งของการอธิบายทฤษฎีไร้ระเบียบได้พูดถึงผลกระทบของ Butterfly Effect
ซึ่งศาสตราจารย์ เอ็ดเวิร์ด (Edward Lorenz) ได้อธิบายไว้ว่า ในด้านทฤษฎีอุตุนิยมวิทยา ผีเสื้อตัวหนึ่งกระพือปีกที่ฮ่องกง
สามารถที่จะทำให้ดินฟ้าอากาศที่แคลิฟอร์เนียเปลี่ยนแปลงได้เมื่อ 1 เดือนให้หลัง นี่คือกระบวนการที่เรียกว่า Butterfly Effect

(สมการของ Edward ที่ใช้ค่าเริ่มต้นจากตรงกลางในการทดลองครั้งที่ 2)

Edward บอกว่าเค้าค้นพบโดยบังเอิญ จากกระบวนการที่เค้านั่งเฝ้าตัวเลขที่ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนไปเป็น .0000001 ของทศนิยม
และนั่งเฝ้าเข็มรายงานความเคลื่อนไหวของอากาศ ทุกครั้งที่เกิดการสั่งสะเทือนของระบบการรับข่าวสารเกี่ยวกับสภาวะอากาศ
และเฝ้าสังเกตดูจุดทศนิยมที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ละจุด ๆ เมื่อเกิดความคลาดเคลื่อนไปแล้วจะทำให้เกิดรูปร่างที่เมือนกับโครงสร้างของผีเสื้อ Edward ยังพบอีกว่า .0000001 ที่คลาดเคลื่อนไปก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมหาศาล การเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลในภาวะแวดล้อมของอุตุนิยมวิทยาไม่ใช่เกิดขึ้นจากสาเหตุใหญ่ ๆ เลย หากแต่เกิดขึ้นจากสัญญาณเล็ก ๆ เป็นจุด ๆ

(กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจุดเริ่มต้นกับจุดสะเทินที่ทำให้ค่าเปลี่ยนไป)

Edward จึงอธิบายว่าถ้ามันเป็นเช่นนี้จริงก็หมายความว่า แม้กระทั่งผีเสื้อตัวเล็ก ๆ กระพือปีกเบา ๆ อยู่ที่ฮ่องกง
ปีกที่กระพือนั้นอาจจะสะเทือนส่งไปถึงแคลิฟอร์เนีย หรืออีกซีกโลกก็เป็นได้ ถ้าระบบนั้นอยู่ใกล้จุดสมดุลสะเทิน
ทำนองเดียวกันกับคำอุปมาทีว่าฟางเส้นสุดท้ายที่หักหลังอูฐ (คำพังเพยฝรั่ง) ในการไหลของของไหลก็เช่นกัน
การสะดุดความขรุขระเพียงนิดเดียวก็อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนสถานะจากการไหลแบบราบเรียบเป็นการไหลแบบปั่นป่วนได้
ถ้าการไหลนั้นอยู่ใกล้จุดวิกฤติ(ซึ่งสามารถคำนวณหาได้)
เรามักจะได้ยินคำพูดที่เป็นที่นิยมพูดกันอย่างกว้างขวางที่ว่า "เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว" หรือ "ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ" (จาก "butterfly effect") ที่โปรยหัวไว้ข้างต้น ซึ่งมีคนจำนวนไม่น้อยที่ตีความในลักษณะของขนาดความรุนแรงของผลลัพธ์เท่านั้น ระบบเคออสนั้นไม่จำเป็นจะต้องแตกต่างกันในแง่ของ ขนาด ของผลลัพธ์เสมอไป แต่อาจแตกต่างกันในแง่ของ พฤติกรรม การเปลี่ยนแปลงก็ได้ จากตัวอย่างข้างบน การเปลี่ยนแปลงของระบบทั้งสองนั้นจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมากในขณะเริ่มต้น เมื่อเวลาผ่านไป การเปลี่ยนแปลงนั้นแทบจะเรียกได้ว่าไม่มีอะไรที่เหมือนกันเลย
สิ่งที่น่าสนใจคือ Chaos theory จะเกิดผลกระทบต่อโลกอย่างไร? จะเกิด Global Effect อย่างไรต่อไป ?
(เกิดกับคนทั้งโลก Ex. ปรากฏการณ์เอลนินโญ่ เกิดจากการที่กระแสน้ำอุ่นเปลี่ยนทิศทาง จากที่เคยไหลเรียบฝั่งแอฟริกาอยู่ดี ๆ
ก็ข้ามฝากมายังอเมริกาใต้ สู่มหาสมุทรแปซิฟิก ผลส่วนหนึ่งคือ ทำให้เกิดไฟไหม้ป่าที่เกาะสุมาตรา
จากป่าที่เป็นเคยสมบูรณ์ที่สุดในแถบเอเชีย ซึ่งการที่กระแสน้ำอุ่นเปลี่ยนทิศทางนั้นเป็นผลมาจากการสะสมความเปลี่ยนแปลง
ทีละเล็ก ละน้อย แต่ความเป็นจริงมีสัญญาณเตือนภัยที่ส่อเค้ามาก่อนแล้ว เช่น หิมะละลาย แผ่นดินถล่ม แต่ก็ไม่มีคนสนใจ
สุดท้ายนี้คือ ถ้ามองอย่างผิวเผินที่สุด เพียงจุดเล็ก ๆ จุดหนึ่งในชีวิตประจำวันอาจจะพลิกโฉมหน้าชีวิตทั้งชีวิตของเราไปเลยก็ได้ หรือแม้แต่คนเล็ก ๆ คนหนึ่งในสังคม อาจจะก่อให้เกิดแรงพลักดันก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้ในสังคม มาถึงวันนี้แล้ว
ถ้าใครที่มัวแต่คิดว่าสังคมมันแย่ ชีวิตมันแย่ คุณจะเป็นฝ่ายที่คิดว่า ในเมื่อมันแย่ไปแล้ว เราแย่อีกซักคนมันจะเป็นไรไป หรือคุณพร้อมที่จะเป็นจุดเล็ก ๆ จุดนึง ที่อาจจะพลิกทั้งชีวิต เปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นได้ ก็ต้องเลือกเอา

1 ความคิดเห็น:

Puttipong Pipopworachai กล่าวว่า...

ชุดคำสั่งมัน macroไม่ใช่microนะเดา