จากคำว่า Micro และ Macro โดยที่ผมเชื่อมโยงไปจนถึงหลักการของเรื่อง Butterfly Effect ซึ่งพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กซึ่งแทบจะไม่ส่งเกตเห็นผลในวงแคบแต่กลับอาจจะมีผลไปถึงผลเสียในวงกว้าง
เช่นการ พูดถึงการ ขยับปีกของผีเสื้อ อาจจะเกิดผลทำให้เกิดพายุในอีกซีกโลกหนึ่งซึ่งหลักนี้ก็เคยมีคนเอามาสร้างหนังหลายเรื่อง
ซึ่งผมกำลังคิดถึงหลักการนำเสนอแบบในหนังเรื่อง - slidding door เพราะเกิดจาการเปลี่ยนแปลงเพียงน้อยนิดตอนต้น ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิด
ซึ่งตอนนี้ได้วิธีการนำเสนอแล้วปัญหาคือเรื่องที่ต้องการนำเสนอ
เพราะด้วยวิธีนำเสนอที่ธรรมดาจึงต้องนำเสนอเรื่องให้ดูน่าสนใจเพื่อเอามาชดเชยกับวิธีการนำเสนอ
แต่....
เนื้อเรื่องอะไรดีหละ
...
...
...
...
นั่นแหละคือปัญหาในตอนนี้
1.28.2551
1.21.2551
Micro & Macro
หลังจากที่ได้รับ โจทย์ เกี่ยวกับคำว่า Micro และ Macro ก็ได้ไปประชุมงานกับเพื่อนๆเพื่อหาความหมายของคำๆนี่จากแต่ละคน
โดยที่หลังจากเริ่มคุยกันที่สิ่งที่ทุกคนคิดเกี่ยวกับคำนี้ก็ได้เริ่มมีการแลกเปลี่ยนกันซึ่งสรุปใจความได้ว่า
Macro ใหญ่ ขนาดที่ใหญ่ ชุดคำสั่งที่เราเขียนขึ้น
Micro เล็ก จุล
จากตรงนี้เราก็พยายามหาสิ่งต่างๆมาเปรียบเทียบว่าเช่น
แขน คือ Macro
เซลล์ ก็จะคือ Micro
โดยส่วนตัวรู้สึกว่ามันมีความใกล้เคียงกับ ทฤษฎีเกี่ยวกับ Butterfly effect ซึ่งพูดถึงเกี่ยวกับการกระทำเพียงเล็กน้อยที่แทบจะไม่สามารถสังเกตได้ในที่นี้ผมเห็นว่ามันเป็นการเปลี่ยนแปลงระดับจุลภาค อาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้
ซึ่งมันก็เป็นหลักการที่ว่า " การผีเสื้อขยับปีกญี่ปุ่น อาจจะก่อให้เกิดพายุที่อเมริกาได้ " เพราะการที่ผีเสื้อขยับปีก 1 ทีนั้นก่อนให้เกิดความกดอากาศที่เปลี่ยนไปได้โดยที่อาจจะไม่ส่งผลในทันที แต่จะส่งผลให้รอบข้างเกิดการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศไปในวงกว้างและเพิ่งไปเรื่อยๆ
โดยตอนนี้เรื่องที่เอามาคลอบให้เกิดเป็นชิ้นงานนั้นยังไม่มี
Chaos Theory
ทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) นั้น อธิบายด้วยภาพจำลองการเคลื่อนไหวของ ปรากฏการณ์เคออส จากปัญหาสามวัตถุ
จากภาพเส้นที่ต่างกันสามเส้นแทนการเคลื่อนไหวของวัตถุสามชิ้น ซึ่งดูเหมือนไม่เป็นระเบียบ ทฤษฎีความอลวน (chaos theory) เป็นทฤษฎีที่อธิบายถึง ลักษณะพฤติกรรมของระบบพลวัต (คือ ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น เปลี่ยนแปลงตามเวลาที่เปลี่ยนไป) โดยลักษณะการเปลี่ยนแปลงของระบบที่เรียกว่าเคออสนี้ จะมีลักษณะที่ปั่นป่วนจนดูคล้ายว่า การเปลี่ยนแปลงนั้น
เป็นแบบสุ่มหรือไร้ระเบียบ (random/stochastic) แต่จริง ๆ แล้ว ระบบเคออสนี้เป็นระบบแบบไม่สุ่ม หรือระบบที่มีระเบียบ (deterministic) ในทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ คำจำกัดความของระบบเคออส คือ ระบบแบบไม่เป็นเชิงเส้น (nonlinear system) ประเภทหนึ่ง ที่มีความไวต่อสภาวะเริ่มต้น กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ถ้าระบบ 2 ระบบนั้นเริ่มต้นจากสภาวะที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย คือเกือบจะเหมือนกันทุกประการ
โดยตอนนี้เรื่องที่เอามาคลอบให้เกิดเป็นชิ้นงานนั้นยังไม่มี
Chaos Theory
ทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) นั้น อธิบายด้วยภาพจำลองการเคลื่อนไหวของ ปรากฏการณ์เคออส จากปัญหาสามวัตถุ
จากภาพเส้นที่ต่างกันสามเส้นแทนการเคลื่อนไหวของวัตถุสามชิ้น ซึ่งดูเหมือนไม่เป็นระเบียบ ทฤษฎีความอลวน (chaos theory) เป็นทฤษฎีที่อธิบายถึง ลักษณะพฤติกรรมของระบบพลวัต (คือ ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น เปลี่ยนแปลงตามเวลาที่เปลี่ยนไป) โดยลักษณะการเปลี่ยนแปลงของระบบที่เรียกว่าเคออสนี้ จะมีลักษณะที่ปั่นป่วนจนดูคล้ายว่า การเปลี่ยนแปลงนั้น
เป็นแบบสุ่มหรือไร้ระเบียบ (random/stochastic) แต่จริง ๆ แล้ว ระบบเคออสนี้เป็นระบบแบบไม่สุ่ม หรือระบบที่มีระเบียบ (deterministic) ในทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ คำจำกัดความของระบบเคออส คือ ระบบแบบไม่เป็นเชิงเส้น (nonlinear system) ประเภทหนึ่ง ที่มีความไวต่อสภาวะเริ่มต้น กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ถ้าระบบ 2 ระบบนั้นเริ่มต้นจากสภาวะที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย คือเกือบจะเหมือนกันทุกประการ
(จากควันที่ลอยขึ้นมาตอนแรก หากโดนอากาศที่แปรปรวนแม้เพียงนิด ก้อจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลในช่วงหลัง)
เมื่อระบบได้มีการเปลี่ยนไปซักระยะหนึ่ง สภาวะของระบบทั้งสองที่เราสังเกตได้เมื่อเวลาผ่านไปจะแตกต่างกันอย่างสังเกตเห็นได้ชัด ในสภาพ Chaos, สภาพสับสนอลหม่าน, สภาพไร้ระเบียบ คือไร้เสถียรภาพ (unstable) ที่มีความอ่อนไหวสูงยิ่ง หรือมีความเปราะบาง เมื่อมีการกระทบเพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่เป็นเส้นตรง แต่เป็นทางที่คดเคี้ยว กวัดแกว่ง และบางครั้งก้าวกระโดด (sporadic) เกิดตรงจุดนั้นบ้าง จุดนี้บ้าง ทำให้ยากที่จะทำนายผลลัพธ์ได้ เพราะมีสิ่งอื่น ๆ
ที่มาเป็นองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง ในตอนหนึ่งของการอธิบายทฤษฎีไร้ระเบียบได้พูดถึงผลกระทบของ Butterfly Effect
ซึ่งศาสตราจารย์ เอ็ดเวิร์ด (Edward Lorenz) ได้อธิบายไว้ว่า ในด้านทฤษฎีอุตุนิยมวิทยา ผีเสื้อตัวหนึ่งกระพือปีกที่ฮ่องกง
สามารถที่จะทำให้ดินฟ้าอากาศที่แคลิฟอร์เนียเปลี่ยนแปลงได้เมื่อ 1 เดือนให้หลัง นี่คือกระบวนการที่เรียกว่า Butterfly Effect
(สมการของ Edward ที่ใช้ค่าเริ่มต้นจากตรงกลางในการทดลองครั้งที่ 2)
Edward บอกว่าเค้าค้นพบโดยบังเอิญ จากกระบวนการที่เค้านั่งเฝ้าตัวเลขที่ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนไปเป็น .0000001 ของทศนิยม
และนั่งเฝ้าเข็มรายงานความเคลื่อนไหวของอากาศ ทุกครั้งที่เกิดการสั่งสะเทือนของระบบการรับข่าวสารเกี่ยวกับสภาวะอากาศ
และเฝ้าสังเกตดูจุดทศนิยมที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ละจุด ๆ เมื่อเกิดความคลาดเคลื่อนไปแล้วจะทำให้เกิดรูปร่างที่เมือนกับโครงสร้างของผีเสื้อ Edward ยังพบอีกว่า .0000001 ที่คลาดเคลื่อนไปก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมหาศาล การเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลในภาวะแวดล้อมของอุตุนิยมวิทยาไม่ใช่เกิดขึ้นจากสาเหตุใหญ่ ๆ เลย หากแต่เกิดขึ้นจากสัญญาณเล็ก ๆ เป็นจุด ๆ
(กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจุดเริ่มต้นกับจุดสะเทินที่ทำให้ค่าเปลี่ยนไป)
Edward จึงอธิบายว่าถ้ามันเป็นเช่นนี้จริงก็หมายความว่า แม้กระทั่งผีเสื้อตัวเล็ก ๆ กระพือปีกเบา ๆ อยู่ที่ฮ่องกง
ปีกที่กระพือนั้นอาจจะสะเทือนส่งไปถึงแคลิฟอร์เนีย หรืออีกซีกโลกก็เป็นได้ ถ้าระบบนั้นอยู่ใกล้จุดสมดุลสะเทิน
ทำนองเดียวกันกับคำอุปมาทีว่าฟางเส้นสุดท้ายที่หักหลังอูฐ (คำพังเพยฝรั่ง) ในการไหลของของไหลก็เช่นกัน
การสะดุดความขรุขระเพียงนิดเดียวก็อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนสถานะจากการไหลแบบราบเรียบเป็นการไหลแบบปั่นป่วนได้
ถ้าการไหลนั้นอยู่ใกล้จุดวิกฤติ(ซึ่งสามารถคำนวณหาได้)
เรามักจะได้ยินคำพูดที่เป็นที่นิยมพูดกันอย่างกว้างขวางที่ว่า "เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว" หรือ "ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ" (จาก "butterfly effect") ที่โปรยหัวไว้ข้างต้น ซึ่งมีคนจำนวนไม่น้อยที่ตีความในลักษณะของขนาดความรุนแรงของผลลัพธ์เท่านั้น ระบบเคออสนั้นไม่จำเป็นจะต้องแตกต่างกันในแง่ของ ขนาด ของผลลัพธ์เสมอไป แต่อาจแตกต่างกันในแง่ของ พฤติกรรม การเปลี่ยนแปลงก็ได้ จากตัวอย่างข้างบน การเปลี่ยนแปลงของระบบทั้งสองนั้นจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมากในขณะเริ่มต้น เมื่อเวลาผ่านไป การเปลี่ยนแปลงนั้นแทบจะเรียกได้ว่าไม่มีอะไรที่เหมือนกันเลย
สิ่งที่น่าสนใจคือ Chaos theory จะเกิดผลกระทบต่อโลกอย่างไร? จะเกิด Global Effect อย่างไรต่อไป ?
(เกิดกับคนทั้งโลก Ex. ปรากฏการณ์เอลนินโญ่ เกิดจากการที่กระแสน้ำอุ่นเปลี่ยนทิศทาง จากที่เคยไหลเรียบฝั่งแอฟริกาอยู่ดี ๆ
ก็ข้ามฝากมายังอเมริกาใต้ สู่มหาสมุทรแปซิฟิก ผลส่วนหนึ่งคือ ทำให้เกิดไฟไหม้ป่าที่เกาะสุมาตรา
จากป่าที่เป็นเคยสมบูรณ์ที่สุดในแถบเอเชีย ซึ่งการที่กระแสน้ำอุ่นเปลี่ยนทิศทางนั้นเป็นผลมาจากการสะสมความเปลี่ยนแปลง
ทีละเล็ก ละน้อย แต่ความเป็นจริงมีสัญญาณเตือนภัยที่ส่อเค้ามาก่อนแล้ว เช่น หิมะละลาย แผ่นดินถล่ม แต่ก็ไม่มีคนสนใจ
สุดท้ายนี้คือ ถ้ามองอย่างผิวเผินที่สุด เพียงจุดเล็ก ๆ จุดหนึ่งในชีวิตประจำวันอาจจะพลิกโฉมหน้าชีวิตทั้งชีวิตของเราไปเลยก็ได้ หรือแม้แต่คนเล็ก ๆ คนหนึ่งในสังคม อาจจะก่อให้เกิดแรงพลักดันก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้ในสังคม มาถึงวันนี้แล้ว
ถ้าใครที่มัวแต่คิดว่าสังคมมันแย่ ชีวิตมันแย่ คุณจะเป็นฝ่ายที่คิดว่า ในเมื่อมันแย่ไปแล้ว เราแย่อีกซักคนมันจะเป็นไรไป หรือคุณพร้อมที่จะเป็นจุดเล็ก ๆ จุดนึง ที่อาจจะพลิกทั้งชีวิต เปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นได้ ก็ต้องเลือกเอา
1.06.2551
การทดลองตาม ไหล่ทาง
ต้องขอโทษด้วยครับที่อัพช้า เพราะเนื่องจากทำการทดลองแล้วบันทึกผล มากไปจนหลงออกนอกทางไป เพราะไม่ใจว่าที่ทำมานั้น มันจะหลุดรึเปล่า
ตอนแรกหลังจากวันที่ 12 ธค. ผมก็ได้กลับมาคิดว่า ความสามารถในการเปลี่ยนรูปทรง แยกสามารถเป็นอะไรได้
ก็เลยกลับมานั่งตั้งต้นคิดใหม่ ว่าการเปลี่ยนรูปทรงคืออะไร โดยคิดทีละลำดับ
ก็เลยกลับมานั่งตั้งต้นคิดใหม่ ว่าการเปลี่ยนรูปทรงคืออะไร โดยคิดทีละลำดับ
การเปลี่ยนรูปทรงในความคิดของผมคือ การที่ วัตถุชนิดหนึ่ง เปลี่ยนจากรูปทรงเดิม ไป อีกหนึ่งรูปทรง
ซึ่งต่อมาผมก็ลองนึกว่านึก ถึงว่ามีอะไรบ้างที่ เปลี่ยนรูปทรงได้อย่างง่ายดาย
เริ่มแรกผมคิดถึง "น้ำ" หรือของจำพวกของเหลว ผมได้ทดลองอย่างง่ายเลยด้วยการ
1. เทเปลี่ยนภาชนะ
2.แช่เย็น
3.ต้ม
4.แช่เย็นแล้วปล่อยละลาย กับ แช่แล้วเปลี่ยนรูปทรงด้วยน้ำ
ไร้สาระอื่นๆอีกมากมาย
ต่อมาผมก็ลอง
เอาของเหลวใกล้ตัวมาเทรวมกันดู ที่หาได้ตอนนั้นก็มี น้ำอัดลม น้ำมัน เหล้าขาว น้ำมัน โคโลญ
โดยเริ่มแรก ผมเทน้ำกับ เหล้ารวมกันดูก่อน ซึ่งผลออกมาคือกลายเป็นการเจือจางเหล้าแทนต่อมาก็น้ำอัดลม
น้ำอัดลมได้ลงไปอยู่บริเวรก้นแก้วเพราะปริมาณน้ำตาลที่ผสมอยู่ แล้วก็น้ำมัน ซึ่งมันก็ลอยมาอยู่บนผิวน้ำจนหมด
สุดท้ายผมก็ลอง โคโลญ ซึ่งมันลองอยู่บนผิวน้ำ แต่ไม่ลอยไปอยู่บนน้ำมัน
แล้วก็ลองเอาไปแช่ ตอนถ่ายรูป ของทุกอย่างแข็งหมดเว้นของเหลวชนิดหนึ่งไหลออกมา มันคือเหล้าขาวที่ผมที่ผสมลงไปในน้ำ
ทดลองเกี่ยวกับเปลี่ยนรูปทรงของน้ำแข็ง
ลองเอาน้ำมาร้อนรดดู
ลองเอาสีผสมอาหารมาหยดใส่ดู ก็เกิดสีสันแปลกตาดี
คราวนี้ลองเอาน้ำมาเจาะลงไปแล้วหยดสีดู
ตอนนี้ผมกำลังลองเรื่องการตกผลึก ทีเปลี่ยนจากของเหลวเป็นของแข็งดู
แต่ทำมาเกือบ2อาทิตย์แล้ว ยังได้นิดเดียวอยู่เลย ตกผลึกช้ามาก
อันนี้เป็นของเล่นที่น่าจุพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนรูปทรงได้เช่นกัน
สามารถดัดเป็นรูปต่างๆได้
การทดลองนี้ผมรู้สึกว่ามันได้ความรู้เพิ่มเติมมาเล็กน้อย เพราะบางอย่างเราก็รู้กันอยู่แล้ว....
ตอนนี้ผมเริ่มหาเกี่ยวกับผลกระทบ ประโยชน์ ของการเปลี่ยนรูปทรงอยู่และกำลังทำการทดลองอยู่...
โครงการ "FTA สร้างฝัน แอนนิเมชั่นเด็กไทย"
เนื่องด้วย ทาง กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดกิจกรรมขึ้นมา ซึ่งทางพวกผมและสมาชิกได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้
นาย หัสดิน ตันชรากรณ์
นาย ณัฐ แสนชื่น
นาย พงศ์ธร ตั้งสะสม
นาย ชาญวุฒิ แซ่จุง
จึงขออนุญาตไปเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรับ Brief งาน
ตารางกิจกรรม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)